25/11/2553



คำอธิบาย
อัตราการเย็นตัวของหินหนืด มีอิทธิพลต่อกระบวนการตกผลึกอย่างมากโดยเฉพาะขนาดของผลึก เมื่อหินหนืดเย็นตัวลงอย่างช้าๆ จะทำให้จุดศูนย์กลางขนาดเล็กๆ ของการเติบโตของผลึกต่างๆ เริ่มเกิดขึ้น การเย็นตัวช้าดังกล่าวยังทำให้ไอออนเคลื่อนที่ไปได้ในระยะทางไกล ในขณะเดียวกันทำให้การก่อตัวขึ้นของผลึกมีขนาดใหญ่ด้วย ในทางกลับกันเมื่อการเย็นตัวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไอออนต่างๆ ก็หยุดการเคลื่อนที่ลงอย่างรวดเร็ว และพร้อมที่จะรวมตัวกันได้ผลึกแร่ขนาดเล็กจำนวนมาก ซึ่งแย่งกันจับไอออนต่างๆ ไว้

ขณะที่วัตถุหลอมเหลวเย็นตัวลงอย่างทันทีทันใด จะไม่มีเวลาพอที่ทำให้ไอออนต่างๆ จัดตัวเองให้เป็นผลึก บางทีของแข็งที่ได้จากลักษณะอาการแบบนี้จะประกอบด้วยไอออนที่อยู่อย่างกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ หินที่ประกอบด้วยอะตอมซึ่งจัดวางตัวกันอย่างไม่เป็นระเบียบเรียกว่า แก้วภูเขาไฟ (Glass) ซึ่งมีเนื้อที่มีลักษณะเหมือนแก้วทั่วๆ ไป ที่ผลิตจากโรงงาน

เมื่อหินหนืดปะทุขึ้นมาใต้ผิวโลก หรือที่ผิวโลกแล้ว จะเย็นตัว และตกผลึกในเวลาต่อมา เมื่ออุณหภูมิลดลงจนทำให้พันธะไอออนสามารถต้านทานอิทธิพลของความร้อนที่เหลืออยู่ได้ผลึกจึงเริ่มก่อตัวขึ้น ผลึกที่เกิดขึ้นระยะแรกเป็นแร่ที่มีจุดหลอมเหลวสูง ในเวลาต่อมาแร่ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าจะตกผลึกออกมาตามลำดับ จนในที่สุดหินหนืดก็แข็งตัวทั้งหมด

ที่มาhttp://www.patchra.net/minerals/MinDesc/igneous08.php

คำอธิบาย
แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน คือบริเวณที่แผ่นธรณีภาค (lithospheric plates) มีการเคลื่อนที่เข้าหาอีกแผ่นหนึ่ง การเคลื่อนที่เข้าชนกันของแผ่นเปลือกโลกนี้สามารถก่อให้เกิดแผ่นดินไหว (earthquakes) ภูเขาไฟ (volcanic activity) และการเปลี่ยนลักษณะของเปลือกโลก (crustal deformation)
แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Oceanic and Continental Plates): (ดูภาพประกอบด้านบน) เมื่อแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปเคลื่อนที่เข้าชนกัน แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรที่บางและมีความหนาแน่นสูงกว่าจะมุดตัวลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปที่หนาและความหนาแน่นน้อยกว่า การที่แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรมุดตัวไปถึงชั้นแมนเทิลเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "subduction" ในขณะที่แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรมุดตัวลงมันจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น จนกระทั่งที่ความลึกประมาณ 100 ไมล์ (160 กิโลเมตร) วัสดุในแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวจะเข้าใกล้จุดหลอมเหลวและเริ่มมีการหลอมเป็นบางส่วน (patial melting)

การหลอมเป็นบางส่วนนี้ก่อให้เกิดกระเปาะหินหนืด ( magma-chambers ) เหนือแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสุมทรที่มีการมุดตัว กระเปาะหินหนืดนี้มีความหนาแน่นน้อยกว่าวัสดุในชั้นแมนเทิลที่อยู่รอบๆ ข้าง ทำให้เกิดการลอยตัวขึ้น การลอยตัวของกระเปาะหินหนืดจะเริ่มลอยขึ้นอย่างช้าๆ ผ่านวัสดุที่ปิดทับอยู่ด้านบน โดยมีการหลอมและการแตกเกิดขึ้นตามเส้นทางที่กระเปาะหินหนืดลอยตัวขึ้นไป ขนาดและความลึกของกระเปาะหินหนืดของกระเปาะหินหนืดเหล่านี้หาได้จากการทำแผนที่การเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณรอบๆ ถ้ากระเปาะหินหนืดลอยขึ้นมาถึงพื้นผิวโลกโดยไม่มีการแข็งตัวก็จะเกิดการปะทุออกมาในลักษณะของการระเบิดของภูเขาไฟ ( volcanic eruption )

แนวชายฝั่งระหว่างวอชิงตัน-โอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Washington-Oregon coastline of the United States) คือตัวอย่างของแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันชนิดนี้ ที่ซึ่งแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรจวน เดอ ฟูกา ( Juan de Fuca oceanic plate ) ได้มุดตัวลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปอเมริกาเหนือ ( North American continental plate ) ที่กำลังเคลื่อนที่ไปทางตะวันตก เทือกเขาแคสเคด (  The Cascade Mountain Range ) คือแนวภูเขาไฟที่อยู่เหนือแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรที่กำลังหลอม เทือกเขาแอนดีส ( The Andes Mountain Range ) ที่อยู่ทางด้านตะวันตกของอเมริกาใต้คืออีกหนึ่งตัวอย่างของแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันระหว่างแผ่นเปลือกภาคพื้นมหาสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป ที่ซึ่งแผ่นเปลือกโลกนาสก้า ( Nazca Plate ) ได้มุดตัวลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้ ( South American plate )

ผลของการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกภาคพื้นมหาสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป ได้แก่ เขตแผ่นดินไหวที่ซึ่งมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวระดับตื้นตามแนวขอบแผ่นเปลือกภาคพื้นทวีป และจะมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวระดับลึกมากขึ้นเมื่อห่างจากขอบแผ่นทวีปเข้ามาบนพื้นดิน บางบริเวณร่องลึกมหาสมุทรอาจจะอยู่ใกล้กับขอบชายฝั่งแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป แนวภูเขาไฟบนพื้นแผ่นดินที่อยู่ห่างจากชายฝั่งเพียงเล็กน้อย และการทำลายแผ่นธรณีภาคมหาสมุทร 

 

แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร (Oceanic and Oceanic Plates): (ดูภาพประกอบด้านบน) เมื่อมีการเคลือนที่เข้าหากันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร 2 แผ่น แผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งจะมุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง โดยปกติแล้วแผ่นเปลือกโลกที่มีอายุมากกว่าจะมุดตัวเนื่องจากความหนาแน่นที่สูงกว่า แผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวจะได้รับความร้อนเมื่อมุดตัวถึงชั้นแมนเทิลและที่ความลึกประมาณ 100 ไมล์ (150 กิโลเมตร) แผ่นเปลือกโลกก็จะเริ่มหลอมทำให้เกิดกระเปาะหินหนืดและกระเปาะหินหนืดนี้ก็จะมีความหนาแน่นน้อยกว่าวัสดุหินที่อยู่รอบๆ กระเปาะหินหนืดก็จะเริ่มลอยตัวขึ้นโดยมีการหลอมและการแตกของวัสดุหินที่ปิดทับอยู่ตามแนวเส้นทางที่กระเปาะหินหนืดลอยตัว เมื่อกระเปาะหินหนืดลอยขึ้นมาถึงพื้นผิวก็จะปะทุออกในลักษณะของโคนปะทุภูเขาไฟ ( volcanic eruption cone) ในช่วงต้นของกระบวนการนี้โคนภูเขาไฟยังคงอยู่ในระดับลึกใต้ผิวน้ำทะเล แต่ต่อมาก็จะมีการพัฒนาจนสูงกว่าระดับน้ำทะเล ซึ่งก่อให้เกิดแนวหมู่เกาะ และเมื่อมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เกาะต่างๆ จะขยายใหญ่ขึ้นจนเชื่อมติดกันกลายเป็นมวลแผ่นดินรูปร่างยาว (elongate landmass)

ประเทศญี่ปุ่น หมู่เกาะอลัวเตียน ( Aleutian islands ) และหมู่เกาะแคริเบียนตะวันออก ( Earthern Caribbean islands ) คือตัวอย่างของแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันชนิดนี้

ผลของการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร 2 แผ่น ได้แก่ เขตการเกิดแผ่นดินไหวระดับลึกอย่างต่อเนื่อง ร่องลึกมหาสมุทร แนวหมู่เกาะภูเขาไฟ และการทำลายแผ่นธรณีภาคมหาสมุทร


แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Continent and Continent plates): (ดูภาพประกอบด้านบน) เป็นการยากที่จะวาดรูปแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันชนิดนี้ เนื่องมีลักษณะค่อนข้างซับซ้อนและค่อนข้างยากที่จะเข้าใจเมื่อเทียบกับแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันชนิดอื่น แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันชนิดนี้ทำให้เกิดการชนกันอย่างยิ่งใหญ่มหาศาล แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปที่มีความหนาชนกันและทั้งคู่ก็มีความหนาแน่นน้อยกว่าชั้นแมนเทิลจึงทำให้ไม่เกิดการมุดตัว บางครั้งอาจมีการมุดตัวเล็กน้อยหรือธรณีภาคส่วนที่หนักใต้แผ่นเปลือกโลกอาจแตกแยกตัวออกจากเปลือกโลกและมุดลงข้างใต้ก็ได้

เศษชิ้นส่วนของเปลือกโลกหรือตะกอนตามขอบทวีปอาจถูกครูดให้มาอยู่ในเขตการชนกัน ( collision zone ) ระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้งสองและก่อให้เกิดการเปลี่ยนสภาพอย่างรุนแรงแบบเมลานจ์ของหิน (highly deformed melange of rock) การบีบอัดอย่างรุนแรงสามารถทำให้เกิดการคดโค้งและการเลื่อนของหินในแผ่นเปลือกโลกทั้งสองได้ ขอบเขตการเปลี่ยนสภาพนี้อาจมากถึงหลายร้อยไมล์ภายในแผ่นเปลือกโลก

เทือกเขาหิมาลัย ( The Himalaya Mountain Range ) คือตัวอย่างที่ดีที่สุดที่ยังคงมีพลัง (active) ของแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันชนิดนี้

ผลจากการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปทั้งสอง ได้แก่ การคดโค้งอย่างรุนแรงและรอยเลื่อน แนวเทือกเขาโค้งขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวระดับตื้น และการหดสั้นลงและหนาขึ้นของแผ่นเปลือกโลกในเขตการชนกัน

http://geothai.net/2009/index.php?option=com_content&view=article&id=38:-convergent-plate-boundaries&catid=57:tectonics&Itemid=100007
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น